UFABETWIN เหตุใดอุรุกวัยจึงผลิตแข้งชั้นยอดได้ต่อเนื่องทั้งที่มีประชากรแค่ 3 ล้านคน?
“ฟุตบอลอุรุกวัยคือปาฏิหาริย์” นาโช ไกด์ชาวอุรุกวัยกล่าว อาจจะไม่ใช่คำที่กล่าวเกินเลย หากจะบอกว่า อุรุกวัย คือหนึ่งในชาติที่ประสบความสำเร็จในด้านฟุตบอลของโลก เมื่อพวกเขาคือเจ้าของตำแหน่งแชมป์โลก 2 สมัย, เหรียญทองโอลิมปิก 2 ครั้ง และแชมป์โคปา อเมริกา อีก 15 สมัย
ขณะเดียวกัน พวกเขายังสามารถผลิตนักเตะชั้นยอดมาประดับวงการได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น หลุยส์ ซัวเรซ, เอดินสัน คาวานี่ หรือล่าสุด ดาร์วิน นูนเยซ ที่เพิ่งย้ายไปร่วมทีมลิเวอร์พูลด้วยค่าตัวมากถึง 75 ล้านยูโร
แทบไม่น่าเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากดินแดนที่มีพื้นที่เทียบเท่ากับภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย และมีประชากรเพียงแค่ 3.5 ล้านคน หรือน้อยกว่าในกรุงเทพฯ เสียด้วยซ้ำ
176,215 ตารางกิโลเมตร คือขนาดของ อุรุกวัย ชาติเล็กๆในอเมริกาใต้ ที่แทรกตัวอยู่ระหว่างดินแดนอันกว้างใหญ่ของ บราซิล และ อาร์เจนตินา และฝั่งตะวันออกหันหน้าสู่มหาสมุทรแอตแลนติก
ทั้งนี้ นอกจากพื้นที่ใช้สอยที่จำกัดแล้ว ดินแดนที่มีขนาดใกล้เคียงกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยแห่งนี้ยังมีประชากรเพียงแค่ 3.5 ล้านคน น้อยเป็นอันดับ 3 ของทวีป อย่างไรก็ดี พวกเขากลับมีความโดดเด่นในเรื่องฟุตบอลระดับท็อปของอเมริกาใต้ หรือบางทีอาจจะระดับโลก นั่นเป็นเพราะอะไร?
คำตอบของคำถามนี้อาจจะต้องย้อนกลับไปตั้งแต่จุดตั้งต้น เมื่อ อุรุกวัย คือชาติแรกๆของอเมริกาใต้ที่โอบรับเกมลูกหนังที่ถูกนำเข้ามาจากชาวตะวันตก จนสามารถก่อตั้งสมาคมฟุตบอลได้ในปี 1900 (ชาติที่ 3 ของละตินอเมริกาต่อจาก อาร์เจนตินา และ ชิลี) และมีทีมชาติอย่างเป็นทางการในปี 1902
ก่อนที่ความพยายามดังกล่าวจะตอบแทนพวกเขา เมื่อมันทำให้ อุรุกวัย คว้าแชมป์โคปา อเมริกา ได้สำเร็จในปี 1916 อีกทั้งยังไปประกาศศักดาในฟุตบอลโอลิมปิก ด้วยการคว้าเหรียญทองมาคล้องคอได้ 2 สมัยติดในการแข่งขันที่ ปารีส และ อัมสเตอร์ดัม ในปี 1924 และ 1928 ตามลำดับ
ความสำเร็จในโอลิมปิกของ อุรุกวัย ยังทำให้พวกเขาได้รับเกียรติในการเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เมื่อปี 1930 ก่อนประเดิมแชมป์โลกสมัยแรกด้วยการเอาชนะ อาร์เจนตินา ในนัดชิงชนะเลิศ 4-2 และอีกครั้งในปี 1950 ที่ประเทศบราซิล
“ฟุตบอลอุรุกวัยคือปาฏิหาริย์” นาโช ไกด์ชาวอุรุกวัยกล่าว “เรามีประชากรแค่ 3.5 ล้านคน แต่คว้าแชมป์โคปา อเมริกา 15 สมัย มากกว่าทุกประเทศ, เหรียญทองโอลิมปิก 2 ครั้ง และแชมป์ฟุตบอลโลกอีก 2 ครั้ง สิ่งนี้ไม่มีใครเหมือน แค่บราซิลประเทศเดียวก็มีนักฟุตบอลที่ลงทะเบียนอยู่ 3 ล้านคน ซึ่งเป็นจำนวนประชากรของเรา
หนึ่งในคาแร็กเตอร์หนึ่งที่มักถูกพูดถึงเกี่ยวกับนักเตะอุรุกวัยคือ ความเป็นนักสู้
พวกเขาไม่สนว่าอุปสรรคที่อยู่ตรงหน้าโหดหินแค่ไหนหรือต้องเผชิญกับคู่ต่อสู้ที่แข็งแกร่งเพียงใด และการพลิกแซงชนะอาร์เจนตินาในปี 1930 รวมถึงบุกไปคว้าแชมป์โลกถึงบราซิล ต่อหน้าแฟนบอลเจ้าถิ่นนับแสนในปี 1950 ก็คือข้อพิสูจน์ชั้นดี
“ในยามลำบาก ผู้เล่นอุรุกวัยเป็นพวกชอบขบถและหุบปากผู้คน” ฮวน ปาโปล อากีร์เร ดีเจรายการวิทยุเกี่ยวกับฟุตบอลของอุรุกวัย ทำให้แม้ว่า อุรุกวัย จะไม่ได้เป็นชาติที่มีพื้นที่กว้างใหญ่เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านอย่าง บราซิล หรือ อาร์เจนตินา แต่มันก็ไม่ได้ทำให้พวกเขารู้สึกว่าตัวเองด้อยไปกว่าชาติไหน ในทางกลับกัน มันยังเป็นแรงกระตุ้นให้พวกเขาต้องพยายามมากกว่าเดิม
“เราเกิดมาบนดินแดนที่ตั้งอยู่ระหว่างสองประเทศขนาดใหญ่ มันเหมือนกับคุณอยู่ในครอบครัวที่มีพี่ชายหลายคน คุณต้องพยายามอย่างหนักเพื่อชดเชยในเรื่องนั้น ไม่มีใครยอมให้คุณได้หายใจหรอก” ดิเอโก ฟอร์ลัน อดีตกองหน้าทีมชาติอุรุกวัย
“จิตวิญญาณนักสู้” ที่นักเตะอุรุกวัยภาคภูมิใจ และดูเหมือนมันจะอยู่ในดีเอ็นเอของพวกเขา เมื่อชาวอุรุกวัยต้องเผชิญกับการต่อสู้มาตั้งแต่อดีต ไม่ว่าจะเป็นการถูกล่าอาณานิคมจากสเปน หรือการต่อสู้เพื่อเอกราชในช่วงต้นทศวรรษที่ 19
“เราได้สร้างตำนานระดับชาติเกี่ยวกับชัยชนะ และเราต้องชนะทุกสิ่งทุกอย่าง ทุกความยากลำบากที่เป็นไปได้” มาร์ติน อากีร์เร หัวหน้าบรรณาธิการของ El País ที่มอนเตวิเดโอ
“เราหัวเราะตอนที่คนอังกฤษพูดเรื่องเกมการแข่งขันที่สวยงาม ฮูลิโอ ริบาส โค้ชที่มีชื่อเสียงของอุรุกวัยบอกว่าฟุตบอลไม่ควรเป็นความสวยงาม หากอยากได้ความสวยงามให้ไปเต้นบัลเลต์”
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้แข้งอุรุกวัยมักจะทำทุกอย่างเพื่อชัยชนะ ที่แม้ว่าบางอย่างอาจจะขัดกับศีลธรรมที่คุ้นเคย ตัวอย่างเช่น กรณีที่ หลุยส์ ซัวเรซ ใช้มือปัดบอลจากประตูในฟุตบอลโลก 2010 รอบ 8 ทีมสุดท้ายกับ กานา หรือใช้ฟันกัด จอร์โจ คิเอลลินี กองหลังอิตาลี ในฟุตบอลโลก 2014 เป็นต้น
นอกจากนี้ ความเป็นนักสู้ยังหล่อหลอมให้พวกเขาจริงจังในทุกวินาทีที่ลงสนาม พร้อมพุ่งเข้าใส่อย่างไม่เกรงกลัว จนได้รับฉายาว่า “จอมโหด” และเกิดขึ้นกับฟุตบอลของพวกเขาในทุกระดับ ตั้งแต่ทีมชาติ เกมลีก เกมของเยาวชน ไปจนถึงฟุตบอลสมัครเล่น
“ลองไปดูฟุตบอลสมัครเล่นในมอนเตวิเดโอก็ได้ คุณจะได้เห็นการแข่งขันที่ดุเดือดที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา เกมระหว่างผู้คนในออฟฟิศเดียวกัน เพื่อนร่วมชั้น หรือเพื่อนแถวบ้าน ที่เข้มข้นในระดับที่ยอมทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ชัยชนะ” อากีร์เร กล่าวต่อ
“เมื่อเกมจบลง ชายกลุ่มนั้นจะออกไปด้วยกัน ดื่มเบียร์และหัวเราะ และทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในสนามจะอยู่ที่เดิมตรงนั้น” “จิตวิญญาณการแข่งขันที่สูงมากคือคำอธิบายว่าประเทศที่มีประชากร 3 ล้านคนสามารถพัฒนานักเตะชั้นยอดเป็นจำนวนมากเหมือนที่อุรุกวัยทำได้อย่างไร” อย่างไรก็ดี ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน ..
อุรุกวัย อาจจะขึ้นชื่อในฐานะมหาอำนาจทางฟุตบอลในครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 แต่ดูเหมือนว่าหลังจากนั้น พวกเขาต้องเผชิญกับ “ยุคมืด” อย่างแท้จริง เพราะหลังจากทำได้เพียงแค่อันดับ 4 ในปี 1954 และ 1956 พวกเขาก็ไม่เคยไปไกลกว่ารอบก่อนรองชนะเลิศอีกเลย แถมในช่วงปี 1978-2006 ยังผ่านเข้าไปเล่นในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายได้แค่ 3 ครั้ง
อย่างไรก็ดี การมาถึงของ ออสการ์ วอชิงตัน ตาบาเรซ ที่เข้ามาคุมทีมเป็นคำรบ 2 ในปี 2006 (ครั้งแรกปี 1990) ก็ทำให้วงการฟุตบอลอุรุกวัยกลับมามีความหวังอีกครั้ง เมื่ออดีตครูคนนี้ได้ตัดสินใจยกเครื่องการพัฒนานักเตะทั้งระบบ และเอา หรือที่แปลว่า “กระบวนการ” มาใช้
คือการที่ทีมชาติอุรุกวัยทุกชุดตั้งแต่เยาวชนไปจนถึงชุดใหญ่จะต้องลงเล่นภายใต้ปรัชญาและแทคติกที่เหมือนกัน ที่ทำให้ไม่ว่าจะเปลี่ยนไปกี่รุ่น อุรุกวัย ก็จะมีนักเตะที่สามารถเล่นเข้ากับระบบของทีมอยู่เสมอ
สิ่งนี้ยังทำให้นักเตะอุรุกวัยเข้าใจระบบในภาพกว้างซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเมื่อถึงจุดหนึ่ง นักเตะที่มีฝีเท้าดีจำเป็นจะ “ต้อง” ย้ายไปค้าแข้งในต่างประเทศทั้งลีกในยุโรปหรือลีกเพื่อนบ้านอย่าง บราซิล และ อาร์เจนตินา เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเองให้สูงขึ้น